ปฏิกิริยาเคมีของแบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า
ปฏิกิริยาเคมีในแบตเตอรี่รถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้าเป็นการแปลงพลังงานเคมีเป็นพลังงานไฟฟ้า
เพื่อใช้ในการขับเคลื่อนรถโฟล์คลิฟท์ โดยทั่วไปแล้วแบตเตอรี่รถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้าใช้ปฏิกิริยาเคมีแบบไฟฟ้าเคมี
โดยสารประกอบซึ่งมีอยู่ในแบตเตอรี่จะเข้าสัมผัสกับแผงประจุไฟฟ้าเพื่อให้เกิดปฏิกิริยาทางไฟฟ้า
ซึ่งจะสร้างกระแสไฟฟ้าที่ใช้ในการขับเคลื่อนรถโฟล์คลิฟท์
กระแสไฟฟ้าที่ถูกสร้างขึ้นจะมีประสิทธิภาพสูงและไม่มีการสูญเสียพลังงานแต่ในกระบวนการนี้ก็จะมีสารประกอบ
ที่จะถูกตัดเป็นสองส่วน โดยส่วนหนึ่งจะกลายเป็นไอออนและส่วนที่เหลือก็เป็นตัวกระจายไฟฟ้า
โดยทั่วไปแล้วแบตเตอรี่รถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้าจะมีสารประกอบที่ประกอบไปด้วยแกนซิงค์ (Lead Acid)
หรือลิเธียมไอออน (Lithium-ion) ซึ่งเป็นสารประกอบที่สามารถเก็บพลังงานได้และใช้ในการขับเคลื่อนรถได้
แบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ไฟฟ้าเป็นเซลล์ทุติยภูมิคือ เซลล์ที่สารซึ่งเป็นส่วนประกอบของเซลล์
สามารถทำกลับให้อยู่ในสภาพเดิมได้หรือเกิดปฏิกิริยาย้อนกลับได้ซึ่งนำมาชาร์จไฟใหม่ได้นั่นเอง
วิธีการนี้เป็นการให้ประจุใหม่แก่เซลล์ เช่น แบตเตอรี่ตะกั่ว-กรด (Lead acid Battery) เป็นต้น
แบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ไฟฟ้าแบบตะกั่ว-กรด (Lead acid Battery) ประกอบด้วยอิเล็กโตรดสองอันซึ่ง
เป็นแผ่นตะกั่วและแผ่นตะกั่ว (IV) ออกไซด์โดยมีกรดซัลฟูลิกเจือจางเป็นอิเล็กโตรไลต์
เมื่อมีการจ่ายไฟฟ้าแผ่นตะกั่วจะถูกออกซิไดส์เป็นตะกั่ว (II) ไอออนและทำหน้าที่เป็นขั้วลบ
Pb(s) ———>Pb2+(aq) + 2e–
ตะกั่ว (II) ไอออนจะรวมตัวกับชัลเฟตไอออนเป็นตะกั่ว (II) ซัลเฟต
Pb2+(aq) + SO2-4(aq)——->PbSO4(s) ส่วนประกอบของแบตเตอรี่ตะกั่วกรด
เมื่อรวมสมการทั้งสองเข้าด้วยกันก็จะเป็นปฏิกิริยาครึ่งเซลล์ที่มีการเกิดออกซิเดชั่น
Pb(s) + SO2-4(aq) ————>PbSO4(s) +2e–
อิเล็กตรอนจะเคลื่อนที่จากขั้วลบตามเส้นลวดไปยังอิเล็กโตรดอีกอันหนึ่งที่เป็น ตะกั่ว (IV) ออกไซด์
ซึ่งมีไฮโดรเจนไอออนจากอิเล็กโตรไลต์และจะถูกรีดิวซ์ดังสมการ
PbO2(s) +4H+(aq) +2e–———>Pb2+(aq) + 2H2O
และ Pb2+ จะรวมตัวกับ SO2-4 ที่มีในสารละลาย
Pb2+(aq) + SO2-4(aq)————>PbSO4 (s)
ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นที่ตะกั่ว (IV) ออกไซด์จึงเป็นปฏิกิริยาครึ่งเซลล์ที่มีการเกิดรีดักชั่น
PbO2(s) + 4H+(aq) + SO2-4(aq) + 2e– ————>PbSO4(s) + 2H2O
การจ่ายไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากทั้งสองอิเล็กโตรดอาจสรุปได้ดังนี้
ขั้วลบ : Pb(s) + SO2-4(aq)——–>PbSO4(s) + 2e–
ขั้วบวก : PbO2(s) + 4H+(aq) + SO2-4(aq) + 2e–———–>PbSO4(s) + 2H2O
ปฏิกิริยาสุทธิ : Pb(s) + PbO2(s) + 4H+(aq) + 2SO2-4(aq)—–>2PbSO4(s) +2H2O
ปฏิกิริยาของเชลล์ข้างบนเป็นแบบผันกลับได้เพราะฉะนั้นถ้าต้องการให้ผันกลับก็จำเป็นจะต้องมีการชาร์จไฟ
โดยการต่อขั้วบวกของแบตเตอรี่กับขั้วบวกของเครื่องชาร์จไฟและขั้วลบของแบตเตอรี่กับขั้วลบของเครื่องชาร์จไฟ
ปฏิกิริยาสุทธิข้างบนก็จะเปลี่ยนทิศทางเป็นจากขวาไปซ้าย ในลักษณะนี้ตะกั่ว (II) ซัลเฟตที่ขั้วลบก็จะเปลี่ยน
เป็นตะกั่วส่วนที่ขั้วบวกและตะกั่ว (II) ซัลเฟตจะเปลี่ยนเป็นตะกั่ว (IV) ออกไซด์
ตามปฏิกิริยาของแบตเตอรี่ตะกั่วกรดจะเห็นว่าในขณะที่มีการจ่ายไฟฟ้าความเข้มข้นของกรดจะลดลงเรื่อยๆ
ตามปกติตอนที่มีศักย์ไฟฟ้าเต็มที่จะมีความถ่วงจำเพาะประมาณ 1.25 ถึง 1.30 แล้วแต่อุณหภูมิในขณะนั้นๆ
ถ้าหากเมื่อใดมีความถ่วงจำเพาะต่ำกว่า 1.20 ที่อุณหภูมิของห้องก็ควรจะมีการอัดไฟฟ้าได้
แต่ละเซลล์ของแบตเตอรี่จะมีศักย์ไฟฟ้าประมาณ 2 โวลต์เพราะฉะนั้น
ถ้ารถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้าใช้แบตเตอรี่ 24 และ 48 โวลต์ก็ต้องใช้เซลล์ 12 และ 24 เซลล์ตามลำดับ
บทความล่าสุด
การใช้รถโฟล์คลิฟท์ยกสินค้าบนพื้นที่สูงวางบนพื้นที่ต่ำ
การใช้รถโฟล์คลิฟท์ยกสินค้าที่วางบนพื้น
สัญลักษณ์และความหมายเกี่ยวกับรถโฟล์คลิฟท์
หมวดหมู่บทความ
- ทั้งหมด (84)
- แบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ (1)
- โฟล์คลิฟท์ (3)
- โฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า (3)
ติดต่อเราวันนี้
- บริษัทเอ็นเนอร์ยีแอดวานซ์จำกัด77/7 หมู่ 9 ซอยสุวินทวงศ์33ถนนสุวินทวงศ์ กทม. 10530
- service@energyadvance.co.th
- 02 077 9608
- @forklift