การคายไฟแบตเตอรี่รถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า
การคายไฟแบตเตอรี่ของรถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้าจะขึ้นอยู่กับปริมาณที่ใช้งานซึ่งแบตเตอรี่ที่ติดตั้งในรถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า
เน้นการใช้งานที่ยาวนานและมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าแบตเตอรี่ทั่วไป
เพื่อให้มีความเสถียรและประหยัดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา
อย่างไรก็ตามหากต้องการคายไฟแบตเตอรี่รถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า สามารถทำได้โดยการเชื่อมต่อแบตเตอรี่เข้ากับ
ชาร์จเจอร์โดยตรงและรอให้แบตเตอรี่ชาร์จไปจนเต็ม โดยใช้เวลาประมาณ 8-10 ชั่วโมง
ในการชาร์จแบตเตอรี่เต็มสมบูรณ์
นอกจากนี้ยังสามารถเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่เข้าไปแทนที่แบตเตอรี่เดิมได้ โดยอาจต้องเข้าถึงตำแหน่งของแบตเตอรี่
และทำการถอดออกมาก่อนแล้วนำแบตเตอรี่ใหม่เข้าไปแทนที่และเชื่อมต่อเข้ากับระบบไฟฟ้ารถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า
แต่ในกรณีนี้ควรติดตั้งแบตเตอรี่ที่มีขนาดและพารามิเตอร์ที่เหมือนกับแบตเตอรี่เดิมเพื่อป้องกันการเสียหาย
ของระบบไฟฟ้าในรถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า
พื้นฐานการตรวจเช็คแบตเตอรี่รถโฟล์คลิฟท์
- เมื่อลูกค้านำแบตเตอรี่มาส่ง ให้ทำการถ่ายรูปและตรวจเช็คสายไฟขั้ว ปลั๊ก ถ้าชำรุดให้แก้ไขก่อนทำการชาร์จ
- หากพบว่าน้ำกลั่นแห้งให้เติมน้ำกลั่นเหนือแผ่นธาตุเล็กน้อย ( ต้องเติมเฉพาะน้ำกลั่นเท่านั้น )
การชาร์จตู้แมนนวล
ปรับแรงดันและกระแสก่อนเสียบปลั๊ก
- ค่าของกระแสคือความจุแอมป์แปร์ (Ah) ของแบตเตอรี่มาหาร 5
- ในระหว่างการชาร์จควรตรวจดูความร้อนของน้ำกรดในแบตเตอรี่
ถ้าเกิน 60 C ให้หยุดการชาร์จจนกระทั่งความร้อนลดลงมาต่ำกว่า 45 C จึงทำการชาร์จต่อไป
- เมื่อทำการชาร์จตู้ออโต้ให้กด Equalize ทุกครั้ง
- ในขณะชาร์จไม่ควรมีประกายไฟในบริเวณที่ทำการชาร์จเพราะจะทำให้แก๊สที่เกิดขึ้นขณะชาร์จติดไฟได้
- เลือกสุ่มตรวจสอบ Cell ที่อยู่ค่อนข้างกลางของ Tray เพื่อวัด Terminal Volts, ความถ่วงจำเพาะ ,
ความร้อนภายใน Cell รวมทั้งระดับน้ำกรด
- เมื่อ Cell แบตเตอรี่ถูกชาร์จด้วยพลังงานไฟฟ้าจะแปลงสภาพเป็นพลังงานเคมีและเก็บรักษาไว้
เมื่อทำการจ่ายไฟ Cell จะเปลี่ยนพลังงานเคมีกลับเป็นพลังงานไฟฟ้า
การปรับ/ลดกรด
- แบตเตอรี่ 1 Cell ประมาณ 2 Volts. แต่เมื่อการชาร์จเสร็จสิ้นสมบูรณ์
แรงดันจะอยู่ประมาณ 2.12 v – 2.15v ความถ่วงจำเพาะจะประมาณ 1.250 – 1.280
- เมื่อชาร์จได้ 80% ขึ้นไปหากพบว่า Cell ใด มีค่ากรดต่ำให้ปรับกรดได้ในช่วงเวลานี้
เพราะซัลเฟตที่เกาะแผ่นตะกั่วจะคายออกทำให้รู้ค่ากรดที่แท้จริงแล้วจึงปรับกรด
โดยกรดต้องไม่เกิน 1.30 เท่านั้นเพื่อไม่ให้แผ่นตะกั่วเกิดความเสียหาย
- หากค่ากรดเกินให้ผสมกับน้ำกลั่นเพิ่มและใช้ไฮโดรมิเตอร์วัดค่า
- ไม่ควรปรับกรดในขณะที่แบตเตอรี่แรงดันและค่า ถ.พ ต่ำ
ทดสอบการจ่ายกระแสไฟ (ดึงโหลด)
- เมื่อขณะใช้งานกระแสมีจำนวนมากที่จ่ายออกจากแบตเตอรี่ทำ ให้ Volts ของแบตเตอรี่ลดลง
และในขณะเดียวกันความถ่วงจำเพาะของน้ำกรดจะลดลงเช่นกันแต่ในขณะชาร์จความเข้มข้นของน้ำกรดจะสูง
เมื่อทำการชาร์จและปรับกรดได้ค่า แล้วให้ดึงกระแสตามนี้
210 Ah – (42-59)
280 Ah – (56-79)
290 Ah – (58-82)
310 Ah – (62-87)
320 Ah – (64-90)
370 Ah – (74-104)
400 Ah – (80-113)
420 Ah – (84-119)
500 Ah – (100-141)
- ค่าแอมป์แป์
- ชั่วโมง (Ah) นั่นคือการจ่ายกระแสไฟ (A) เป็นเวลานานเท่าไรคิดเป็นชั่วโมง (H) สำหรับแบตเตอรี่รถโฟล์คลิฟท์
ได้กำหนดเวลาในการจ่ายไฟคงที่ 5 ชั่วโมง เช่น ถ้าแบตเตอรี่กำหนด 400 Ah
5 Hour Rate (5 HR) หมายถึง การจ่ายไฟที่กระแส 400/5 = 80 A คงที่ได้เวลา 5 ชั่วโมงหรือที่ 5 HR = 400 Ah
3 Hour Rate (3 HR) หมายถึง การจ่ายไฟที่กระแส = 400/3×0.85 = 113 A
อายุการใช้งานของแบตเตอรี่จะขึ้นอยู่กับการใช้งานมากหรือน้อยและการดูแลรักษาที่ถูกต้องหรือไม่
โดยทั่วไปการหมดอายุการใช้งานนั้นความจุของแบตเตอรี่จะลดลงเหลือ 60-80% ของความจุมาตรฐาน
อย่างไรก็ตามอายุการใช้งานเฉลี่ยโดยทั่วไปจะประมาณ 4 ปี สำหรับรถโฟล์คลิฟท์ใหม่และใช้งานถูกต้อง
และถ้านับจำนวนครั้งของการจ่ายไฟ (ที่ 75 %ของความจุ) และการชาร์จไฟกลับเป็นรอบนั้น
จะมีอายุการใช้งานประมาณ 1,200 รอบ ซึ่งความจุจะลดลงเหลือ 80% ของความจุมาตรฐาน
FULL MEDIUM LOW แบตเตอรี่ลดลงอายุการใช้งาน 4 ปี ใช้งาน 1,200 รอบ
ผลที่ทำให้อายุการใช้งานเปลี่ยนไป
ใช้งานที่อุณหภูมิสูงหรือต่ำกว่า 10~50 C ( ไม่ว่าจะเป็นขณะชาร์จหรือ Discharged )
การใช้งานที่สะเทือนเกินปกติทั่วไปอาจทำให้อายุการใช้งานลดลงซึ่งสิ่งเจือปนในน้ำกรดทำให้เกิดการจ่ายไฟในตัวเอง
ทำให้ต้องใช้กระเสไฟฟ้าชาร์จกลับมากกว่าปกติและประสิทธิภาพการชาร์จก็ลดลงด้วย
เมื่อเริ่มชาร์จกระแสไฟ (A) จะวิ่งเข้าแบตเตอรี่มากและค่อยๆ ลดน้อยลงเรื่อย ๆ เมื่อแรงดันเคลื่อนสูงขึ้น
จนกระทั่งแบตเตอรี่ไฟเริ่มเต็มประมาณ 80% เครื่องชาร์จจะลดกระแสไฟลงเหลือประมาณ 25% ของจำนวน
กระแสไฟชาร์จตอนเริ่มต้น
เครื่องมือที่มีมาตรฐาน
- ตู้ชาร์จแบตเตอรี่น้ำกรด
- ตู้ชาร์จแบตเตอรี่น้ำกรด 48v
- ตู้ชาร์จแบตเตอรี่ลิเธียม
- ตู้ดึงโหลด หรือ ตู้ดึงกระแสไฟ 175 แอมป์
- ตู้ดึงโหลด หรือ ตู้ดึงกระแสไฟ 250 แอมป์
- ตู้ดึงโหลด หรือ ตู้ดึงกระแสไฟ 380 แอมป์
7.เครื่องมือวัด แคลมป์มิเตอร์
8.เครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรด
คายไฟ 3 ชั่วโมงต่อเนื่องและสรุปผลลัพธ์
แบบฟอร์มรายงานการคายไฟของแบตเตอรี่รถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า 3 ชั่วโมงต่อเนื่องและสรุปผลลัพธ์
บทความล่าสุด
การใช้รถโฟล์คลิฟท์ยกสินค้าบนพื้นที่สูงวางบนพื้นที่ต่ำ
การใช้รถโฟล์คลิฟท์ยกสินค้าที่วางบนพื้น
สัญลักษณ์และความหมายเกี่ยวกับรถโฟล์คลิฟท์
หมวดหมู่บทความ
- ทั้งหมด (84)
- แบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ (1)
- โฟล์คลิฟท์ (3)
- โฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า (3)
ติดต่อเราวันนี้
- บริษัทเอ็นเนอร์ยีแอดวานซ์จำกัด77/7 หมู่ 9 ซอยสุวินทวงศ์33ถนนสุวินทวงศ์ กทม. 10530
- service@energyadvance.co.th
- 02 077 9608
- @forklift